วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วันจันทร์ที่  29 สิงหาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
      การสื่่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การสื่อสาร คือ กระบวนการส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร
มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามผู้ส่งสาร
การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจตรงกัน 


รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติ้ล
ผู้พูด คำพูด ผู้ฟัง
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1.ผู้ส่งข่าวสาร
2.ข้อมูลข่าวสาร
3.สื่อในช่องทางการสื่อสาร
4.ผู้รับข่าวสาร
5.ความเข้าใจในการตอบสนอง


ปัจจัย 7 ประการ
1.ความพร้อม
2.ความต้องการ
3.อารมณ์และการปรับตัว
4.การจูงใจ
5.การเสริมแรง
6.ทัศนคติและความสนใจ
7.ความถนัด

การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยด้วยงานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน


คำถามท้ายบท

1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป

ตอบ กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับสาร

2.การสื่อสารมีความสำคัญอย่างไรต่อผู้ปกครอง

ตอบ  ช่วยให้ครูสามารถให้ความรู้และขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการเข้ามามีบทบาทพัฒนาเด็กร่วมกัน


3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

ตอบ  ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไม เพราะจะเป็นการสื่อสารให้กับผู้ปกครองได้เข้าใจกันง่ายขึ้น


4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร

ตอบ เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็กๆ ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีล่ะขั้น  เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย


5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง

ตอบ ความพร้อม ความต้องการ อารมณ์และการปรับตัว การจูงใจ การเสริมแรง ทัศนคติและความสนใจ ความถนัด 


วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน

      หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นนโยบายที่สำคัญ การให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาจะช่วยทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญในการพัฒนาเด็ก


       ความหมายของการให้การศึกษาผู้ปกครอง
หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยพ่อแม่และผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่จะเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ได้เรียนรู้วิธีการดูแล อบรมเลี้ยงดู เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
ความสำคัญในการให้การศึกษาผู้ปกครอง
1.สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2.การให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่
3.ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา
4.เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนการศึกษาของเด็ก
5.ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง


รูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
เป็นรายบุคคล
กลุ่มขนาดเล็ก
กลุ่มขนาดใหญ่
ระดับชุมชน
ระดับมวลชน

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พศ 2559 

เนื้อหาการเรียนการสอน

          การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ความหมายของผู้ปกครอง
ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด
ผู้ปกครอง  หมายถึง พ่อหรือแม่ของบุคคล
ผู้ปกครอง  หมายถึง ผู้ที่เป็นพ่อหรือแม่ ซึ้งมีอยู่สองประเภทคือ
1. ผู้ปกครองโดยสายเลือด
2. ผู้ปกครองโดยสังคม
จึงสรุปได้ว่า ผู้ปกครอง คือ ผู้ที่เป็นบิดามารดาหรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อเป็นแม่ด้วย
ความสำคัญของผู้ปกครอง
   เป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในชีวิตของเด็ก ความรักและความอบอุ่นของผู้ปกครองเป็นความต้องการของเด็กทุกคน ผู้ปกครองจึงมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก
  ความสำคัญของพ่อแม่ ความรักที่ประกอบด้วยเหตุผลและความมุ่งมั่นที่จะปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้แก่เด็ก
ความรักที่บริสุทธิ์และความสัมพันธ์อันอบอุ่นเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเด็กในการพัฒนาความคิดและความรู้สึก ซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตที่สมบูรณ์มั่นคงต่อไป

บทบาทและหน้าที่
1.ส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
2.ดูแลเด็กร่วมกับโรงเรียน
3.ตระหนักถึงธรรมชาติของเด็ก
4.เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
5.ให้ความรักความเข้าใจ
6.ไม่ปิดกั้นความรู้สึกลูก
7.ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกลูก
8.ฝึกให้ลูกรู้จักสร้างสัมพันธ์ที่ดี
9.ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
10.เรียนรู้ร่วมกับเด็ก


สรุปได้ว่า    ผู้ปกครอง หมายถึง  ผู้ที่เป็นบิดามารดาหรือบุคคลอื่นที่ทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูให้เด็กมีชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างยิ่งดังนั้นผู้ปกครองควรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมการศึกษาตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการพัฒนาเด็ก